ความเห็นเรื่อง ‘นิ่ง’

ความเห็นเรื่อง ‘นิ่ง’
เรื่องและภาพโดย ชีวัน วิสาสะ

หนังสือเรื่อง นิ่ง มีความโดดเด่นมากท่ามกลางหนังสือภาพสำหรับเด็กในเมืองไทย กล่าวคือ ทั้งชื่อและภาพมีความลุ่มลึกและลึกซึ้งภาพมีความลื่นไหลต่อเนื่องคล้ายการดูภาพ animation ทั้งที่ภาพของตัว ‘นิ่ง’ หยุดอยู่นิ่งๆ แต่ศิลปินใช้สภาพแวดล้อมเคลื่อนไหวแทน อีกทั้งยังได้เลือกใช้สีในโทนเย็นเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่สงบนิ่ง รวมถึงเลือกใช้สีมืดแทนความรู้สึกที่น่าหวาดกลัว ขณะที่ตัวนิ่งยังคงอยู่นิ่งๆ ไม่แสดงความหวาดหวั่นใดๆ เนื้อหาของเรื่อง นิ่ง กล่าวถึงตัวละครตัวหนึ่งที่เผชิญกับสภาวการณ์ต่างๆ ที่ชวนให้ทั้งหวาดกลัวและไม่ราบรื่นด้วยท่วงทำนองของกวีที่มีความหนักแน่น ใช้คำน้อยแต่กินความหมายกว้างไกลและลึกซึ้ง กล่าวโดยสรุปคือ หนังสือภาพเรื่อง ‘นิ่ง’ สามารถสื่อสารความเข้าใจได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีความเป็นสากล สามารถเข้าถึงคนได้ทุกเพศ ทุกวัย และทุกชนชาติ เป็นการนำเอาธรรมะและปรัชญาของการใช้ชีวิตท่ามกลางความสับสน วุ่นวาย รีบเร่งมาเสนอในรูปแบบของหนังสือภาพ โดยแนะนำให้ผู้อ่านครองสติและใช้ปัญญาในทางที่ถูกที่ควร

ชีวัน วิสาสะ ปัจจุบันอายุ 46 ปี

การศึกษา

  • ป.กศ.สูง ศิลปศึกษา จาก วิทยาลัยครูนครปฐม กศ.บ.ศิลปศึกษา จาก มศว ประสานมิตร
  • พ.ศ.2526-2534 รับราชการครูที่โรงเรียนสามพรานวิทยา หลังจากนั้นได้ลาออกจาก ราชการมาทำงานอิสระดังนี้
  • ร่วมงานกับสโมสรผึ้งน้อยในฝ่ายสร้างสรรค์ เขียนบทละคร เล่นละครสำหรับเด็ก แต่งเพลง เล่านิทาน
  • เขียนเรื่องและวาดภาพประกอบหนังสือ สำหรับเด็กกับสำนักพิมพ์ธีรสาส์น,ชมรม เด็ก,ปลาตะเพียน,ผู้จัดการเด็ก,กระทรวงศึกษาธิการ
  • นักเขียนและคณะบรรณาธิการสำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก
  • นักเขียนและคณะบรรณาธิการสำนักพิมพ์วาดดาว
  • ร่วมร่างหลักสูตรเพื่อจัดตั้งภาควิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก มศว ประสานมิตร
  • เล่านิทานตามโรงเรียนอนุบาลต่างๆทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
  • วิทยากรเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน,การเล่านิทาน,กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กและครอบครัว
  • ผลงานหนังสือภาพสำหรับเด็กเช่น อีเล้งเค้งโค้ง คุณฟองนักแปรงฟัน ตัวเลขทำอะไร น้อง ส้มโอกับพี่หลอดไฟ คุณตาหนวดยาว (ได้รับการแปลเป็นภาษา อังกฤษ ญี่ปุ่น สเปน โปรตุเกส จีน) มดสิบตัว(แปลเป็นภาษาต่างประเทศเช่นกัน) ระฆังเบิกบาน ,นิ่ง, ก.ไก่ ไดโนเสาร์, ดึ๋ง ดึ๋ง ดึ๋ง ดึ๋ง ฯลฯ
  • ได้รับการโหวตจากนักอ่านประเทศสวีเดนเพื่อเชิญไปบรรยายและพบปะนักเขียนนักอ่าน ณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงสต็อคโฮล์ม ประเทศสวีเดน ในปี พ.ศ 2548.

อ่านบทความภาษาอังกฤษ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *